สาเหตุความเสื่อมของราชวงศ์ชิง
สังเกตจากผลงานของจักรพรรดิที่มีผลงานที่น้อยลงและเศรษฐกิจตกต่ำ ในปี 1795 ประเด็นที่นักประวัติศาสตร์จีนมองว่าราชวงศ์ชิงเสื่อม
คือ สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง กษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน ซึ่งก็เป็นยุคทองของจีน แต่ตัวต้นเหตุที่ทำให้ราชวงศ์ชิงเสื่อม
คือ ไม่สามารถขจัดปัญหาของประเทศได้ ดังนี้
- การทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง
จักรพรรดิไร้ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ปัญหานี้ซึ่งมีมาช้านานและยากยิ่งที่จะแก้ปัญหา ทำให้ประเทศไทยมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงตามแบบอย่างประเทศจีน โดยเฉพาะคนจีนที่เข้ามารับราชการในประเทศไทย เช่นมีการติดสินบนกันในหมู่ข้าราชการ ที่คนจีนทำให้คนไทยติดสินบน แต่เหตุการณ์สำคัญในสมัยนี้คือ จักรพรรดิเฉียนหลง จากนิสัยส่วนตัว บางคนก็ว่า ประพฤติตนเสเพล มีนิสัยเที่ยวเตร่ จึงได้รับฉายาว่า “จักรพรรดิเจ้าสำราญ” โดยมักจะปลอมตัวเป็นสามัญชน ชอบเข้าโรงเตี้ยม,โรงน้ำชา จักรพรรดิเฉียนหลง มีขันทีเป็นคนสนิท ซึ่งเป็นคนรู้ใจของจักรพรรดิ ขันทีนี้มีนามว่า โอเชน มีความสามารถในการขี่ม้ามาก ลูกชายของโอเชนได้แต่งงานกับพระธิดาของจักรพรรดิเฉียนหลง จึงทำให้ขันทีโอเชน กลายเป็นคนที่โปรดปรานของจักรพรรดิและมีอำนาจในวังหลวงมาก เป็นบุคคลที่สำคัญมากที่สุด จึงมักจะมีบุคคลต่างๆมาเข้าหาอยู่เสมอและนำปัญหาของชาวบ้านกราบทูลต่อจักรพรรดิ ภายในปี 1795 จักรพรรดิเฉียนหลงสละราชสมบัติ โอเชนกลายเป็นที่มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล (800 ล้านเหรียญ ไม่รวมกับสิ่งที่นำไปฝังไว้ตามที่ต่างๆ) ต่อมาจักรพรรดิเจี่ยอิง จับตัวโอเชนไปประหารชีวิตและริบทรัพย์สินทั้งหมดทั้งมวล
จักรพรรดิเฉียนหลง จักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ชิง
2.การทำสงคราม
ในสมัยนี้ทำสงครามถึง
10
ครั้ง ทั่งรอบสารทิศ ทั้งกับประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งเป็นชัยชนะที่สมบูรณ์แบบที่สุดในราชวงศ์แมนจู ประเทศต่างๆที่ยอมแพ้ ต่างก็มาถวายเครื่องราชบรรณาการ
หรือ จิ้มก้อง ทำให้ตัวเลขต่างๆที่ใช้ในการสงครามมีจำนวนมหาศาล
จึงเกินงบประมาณและรายได้ของประเทศ รวมถึงเงินที่ถูกโกงไปจากราชสำนัก
3.การเพิ่มจำนวนประชากร
ในปี
1644
ประชากรของจีนมีจำนวน 100 ล้านคน ต่อมาในปี 1795
ประชากรของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคน
ปัญหาในสังคมจึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น
ไม่มีเงินจ่ายข้าราชการ ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง ไม่มีเงินดูแลด้านสาธารณูปโภค
4.ความเสื่อมของกองทัพ
ปี 1644 กองทัพแมนจูได้พัฒนามาจากกองทัพของจีน
แต่ในปี 1795 ไม่ได้เป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพ
ไม่ได้เข้มแข็งเหมือนตอนที่รุกรานจีน สาเหตุเพราะ ทหารจีนถูกลดบทบาทลง
การว่างเว้นจากการทำสงคราม กลายเป็นทหารบ้านธรรมดา
และนโยบายกองทัพที่ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงเพราะขงจื๊อบอกว่าห้ามเปลี่ยนแปลง
อาวุธของกองทัพมีความเหมือนกันในปี 1644 ปี 1795 จึงมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชาติตะวันตกเข้ามา มีการซื้ออาวุธจากต่างชาติ
เช่น ปืนใหญ่ ซึ่งกองทัพแมนจูมิอาจต้านทานกองทัพจากตะวันตกได้
ทำให้จีนรุกรานจากต่างประเทศ
สาเหตุความเสื่อมภายนอก
การเข้ามาของชาติตะวันตก
การปรากฏตัวของชาวต่างชาติในศตวรรษที่
16
เนื่องจากแผ่นดินจีนมีของดีนับตั้งแต่มาร์โค โปโล นักเดินเรือชาวอิตาลี
เข้ามาแสวงหาดินแดนในจีน จึงได้บันทึกไว้ว่า “จีนเป็นตลาดใหญ่
มีสินค้าที่ตะวันตกต้องการมาก โดยเฉพาะเครื่องเทศ
มีพระราชวังจีนที่มีหลังคาประดับด้วยทองคำ เพดานประดับด้วยเพชรนิลจินดา...”
ฉะนั้นแล้ว มาร์โค โปโล จึงบันทึกแต่สิ่งที่ดีในจีน
ชาติแรกที่เข้ามาในจีนคือ
รัสเซีย นอกจากความต้องการด้านสินค้าแล้ว ยังต้องการทางออกทางทะเล
รัสเซียนำกองกำลังพวกพ่อค้ามาพบกับชาวจีนที่ทางทิศตะวันตก คือ พบกับชาวแมนจู
นอกจากได้ทางออกทางทะเลแล้ว ยังได้มีผลตามมาคือ
ติดต่อกับพ่อค้าบริเวณคาบสมุทรทางตะวันตกของไซบีเรีย การจดสนธิสัญญากัน คือ
สนธิสัญญาเจกต้า โดยรัสเซียจะไม่เข้ามาวุนวายกับจีนแผ่นดินใหญ่
ตะวันตกที่มาจากภาคตะวันออก
รวมทั้งเอเชียทางตะวันออก เช่น โปรตุเกส,ดัตช์,อังกฤษ,ฝรั่งเศส,สเปน
ทางด้านเอเชียก็มี ญี่ปุ่น ซึ่งตะวันตกอยากมาติดต่อค้าขายกับจีน เช่นต้องการซื้อ
ผ้าไหม,จาน-ชาม,ตะเกียบ เป็นต้น แต่ในทำนองเดียวกัน ก็เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในจีน
ปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นปัจจัยของความเสื่อมคือ คนจีนมีวิสัยทัศน์ที่ไม่ก้าวไกล
ไม่ทันต่อโลก มีความคิดที่คับแคบ เป็นพวกอนุรักษ์นิยมหรือคนหัวโบราณ จึงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งในประเทศจีน
พวกศาสนาที่เข้ามาก็วางรากฐานในการใช้ชีวิตของคนจีน พวกพ่อค้าตะวันตกเข้ามาในจีน
เพื่อมาทำการค้าขาย แต่คนจีนไม่ชอบพ่อค้าตะวันตก มีสาเหตุตามหลักปรัชญาขงจื๊อ
เพราะ
- การเป็นพ่อค้าไม่ดี แต่อาชีพอื่นๆดีหมด เพราะพ่อค้าเป็นคนที่ไม่ซื่อสัตย์ (ซื่อสัตย์คือคุณธรรมอันดีงามของบุคคล) เป็นอาชีพที่ร่ำรวยเกินความเป็นจริง
- แนวความคิดทางด้านสังคมและการปกครอง มีความคิดที่แตกต่างกัน
คนยุโรปเห็นว่าความเชื่อไม่สำคัญ เพราะทุกคนนั้นเท่าเทียมกันหมด
แต่คนจีนจะถือธรรมเนียมปฏิบัติตามแบบโบราณ อย่างเช่น
การหมอบคลานเข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ เพราะจักรพรรดินั้นยิ่งใหญ่ที่สุด
ขุนนางจึงต้องหมอบคลานเพื่อแสดงความเคารพและจงรักภักดี ตามที่ขงจื๊อได้กล่าวไว้ว่า
“รู้จักบุคคลและฐานะ” เพราะจีนถือว่าตนเป็นชาติที่ยิงใหญ่ที่สุด
ประเทศต่างๆก็มาส่งเครื่องราชบรรณการเพื่อแสดงความจงรักภักดี
มองว่าชาติตะวันตกเป็นคนป่าเถื่อน ชอบปล้น,ลักเล็กขโมยน้อย จีนไม่ชอบชาวตะวันตก
เพราะชาวตะวันตกมาทีไรก็ขอซื้อนั่นนี่ หรือขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ ** จีนได้เคยนำแบบการสร้างเรือสำเภา ไปสร้างในประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ 3
- ขงจื๊อบอกว่า ห้ามรับหรือเปลี่ยนของใหม่ เพราะของใหม่นั้นไม่ดี คนจีนมักจะปฏิเสธของใหม่ของชาวตะวันตก ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน
ความอ่อนแอของพวกหมิงและแมนจู
ทำให้มีข้าศึกเข้ามารุกราน ทั้งหมิงและแมนจูก็ปราบปรามไม่ได้
จึงต้องพึ่งพากองทัพของตะวันตก ช่วยกับปราบกบฏ หู ซัน ปุ้ย กบฏขุนนางได้ ในศตวรรษที่
17
จีนได้เปิดสถานีการค้าที่ฮ่องกง ซึ่งโปรตุเกสได้ควบคุมอยู่
(ต่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ และได้เซ็นสัญญาเช่าเกาะฮ่องกงเป็นเวลา 99
ปี) จึงจำเป็นต้องให้ชาวตะวันตกเข้ามาอยู่ โดยมีข้อแม้ว่า
- ให้อยู่ในสถานีการค้า 3 เดือน หลังจากนั้นก็ให้ออกไปจากประเทศ
- ให้เข้ามาอยู่เพื่อทำการค้าขายได้ แต่คนจีนจะไม่ซื้อของจากตะวันตก จะนิยมซื้อของคนจีนพวกเดียวกัน ถือว่าของชาวตะวันตกที่นำมาขายนั้น เป็นของที่ไม่ดี ทำให้อังกฤษต้องส่งสาส์นมาให้ชาวจีนช่วยซื้อสินค้า แต่ชาวจีนไม่ยอมรับข้อเสนอนั้น เพราะสินค้าของจีนดีกว่า จึงนิยมซื้อขายกับพวกชาวจีนด้วยกัน
- เรือบรรทุกสินค้าที่มาเทียบท่าในจีน ถ้ามาจากอังกฤษ ภายในเรือจะว่างเปล่าไม่มีสินค้าใดๆ แต่ถ้าขากลับจะบรรทุกสินค้ากลับไปมากมาย เนื่องจากว่าคนจีนเป็นผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ
- เมื่อจีนไม่ซื้อสินค้าตะวันตก ทำให้ชาวตะวันตกศึกษานิสัยใจคอและความชอบนิยมของคนจีน
นั่นคือ คนจีนชอบสูบฝิ่น
เพราะคนจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานตามแถบหัวเมืองหรือชายแดนต่างๆ ฝิ่น
เริ่มแรกปลูกที่อินเดียและต่อมาก็เริ่มแพร่หลายเข้ามาปลูกในจีน
จึงเริ่มมีการค้าฝิ่นเกิดขึ้น ทำให้ฝิ่นนั้นมีเกลื่อนเมือง
รัฐบาลจีนสั่งห้ามค้าขาย จึงทำให้เกิดสงครามฝิ่นขึ้นในปี 1839 ในปี 1840 จีนจึงพ่ายแพ้สงครามฝิ่นโดยสมบูรณ์และต้องสูญเสียทรัพยากรและเมืองต่างๆ
อาทิ สูยเสียฮ่องกงให้กับอังกฤษ (อังกฤษขอเช่าเป็นเวลา 99 ปี)
เมืองท่าตามชายฝั่งทะเลอีก 4-5 เมือง และอีก 30 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นเมืองเช่า เพราะเกรงกลัวญี่ปุ่นมายึดดินแดน
ทำให้ชาติอื่นๆเข้ามาในจีนได้อย่างสะดวก เช่น เยอรมนี
เอาดินแดนชานตุงของจีนทางตอนเหนือมาจากญี่ปุ่น
เมืองไหหลำตกไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส ยุโรปอ้างว่าจีนมีระบบยุติธรรมที่ไม่ทันสมัย เช่น วิธีการลงโทษแบบทรมาน
นำนักโทษไปขังไว้ที่กลางตลาด โดยให้ประชาชนขว้างก้อนหินใส่
อังกฤษจึนโอนมาอยู่ในความดูแลของตน โดยไม่ต้องขึ้นศาล
- การเก็บภาษีในขีนนั้น
เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน อังกฤษจึงเข้าควบคุมดูแลในการเก็บภาษี
โดยการเก็บภาษีต้องได้รับความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย
โดยต่อมามีการจดสัญญาในเวลาต่อมา “สัญญาว่าด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน”
ทำให้ประชาชนในราชวงศ์ชิงไม่พอใจมาก เมื่อใดก็ตามแต่ที่จีนยกอะไรให้กับใคร
ชนชาติอื่นก็มีสิทธิ์เรียกร้องเหมือนทำสัญญากันจีน
**อ้างอิงจาก คำบรรยายวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกสมัยใหม่ [HI461] : รศ.มาตยา อิงคนารถ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง
ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น