วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามเข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


หลักฐานเกี่ยวกับการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                
ศาสนาอิสลามมีกำเนิดขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 7 (ค.ศ. 622 อันเป็นปีที่พระมะหะหมัด เสด็จหนีอกจากเมืองเมกกะตรงไปยังเมืองเมดินา) จากนั้นศาสนาอิสลามก็แพร่หลายออกไปสู่ดินแดนอื่นๆ โดยรอบคาบสมุทรอาหรับ ทางตะวันตกแพร่ไปถึงยุโรปภาคใต้ และทางตะวันออกแพร่เข้ามาสู่อินเดีย และจากอินเดียเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในอินเดียตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นมีกษัตริย์มุสลิมครองอยู่ที่ เดลฮี และในตอนปลายคริสต์ศตวรรษ ที่13 อิสลามเผยแพร่ต่อมาทางใต้ในแคว้นกุจราท ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแคมเบย์ อันเป็นเมืองท่าติดต่อทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่เดิม พ่อค้าอินเดียที่หันไปนับถือศาสนาอิสลามเมื่อมาค้าขายยังเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ก็ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั้น เมื่อพ่อค้าอินเดียเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีจุดประสงค์เพียงค้าขายเท่านั้น แต่เมื่อสมัยหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13 พ่อค้าอินเดียยังมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย เพราะว่าศาสนาอิสลามนั้นไม่มีนักบวชเช่นศาสนาอื่นๆ ประชาชนทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาไปในตัวนั่นเอง
                
ความจริงศาสนาอิสลามเข้ามาปรากฏตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นเวลานาน มีหลักฐานบ่งไว้ว่า ชาวอาหรับที่เป็นอิสลามเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 674 แต่พ่อค้าอาหรับเหล่านี้ไม่ได้ใช้ชีวิตปะปนกับชาวพื้นเมือง ศาสนาอิสลามจึงไม่มีการแพร่ในสมัยนั้น
                
ศาสนาอิสลามเริ่มเป็นที่ยอมรับในหมู่เจ้าผู้ครองเมืองต่างๆในหมู่เกาะอินโดนีเซียตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลักฐานเกี่ยวกับการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในสมัยนี้ก็คือ บันทึกของมาร์โค โปโล (Marco Polo) ผู้เดินทางมาถึงเมือง Perlak ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ในปี 1292 เมือง Perlak เป็นเมืองท่าค้าขายอยู่ตรงปากทางเข้าช่องแคบมะละกา จึงมีพ่อค้าชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเดินทางเข้ามาค้าขายด้วยเป็นอันมาก มาร์โคโปโลเล่าว่า พ่อค้ามุสลิมชาวอินเดียได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเมืองนี้ และได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามให้แก่ชาวเมือง ทำให้ชาวเมืองหันมานับถือศาสนาอิสลามด้วย ส่วนที่เมือง Samudra ซึ่งอยู่ต่อขึ้นไปทางตอนเหนือของ Perlak นั้นอิทธิพลของศาสนาอิสลามยังคงไปไม่ถึง จึงอนุมานได้ว่า ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตอนปลายนั้น ศาสนาอิสลามพึ่งจะเริ่มแพร่หลายในหมู่เกาะอินโดนีเซีย แต่เวลาไม่นานหลังจากปี 1292 ศาสนาอิสลามจาก Perlak ก็แพร่หลายเข้ามายังเมือง Samudra นักโบราณคดีได้ค้นพบจารึกที่หลุมฝังศพของสุลต่านของ Samudra ซื่อ Sultan Malik al Saleh ซึ่งเป้นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอิสลามองค์แรกของเมือง Samudra และจารึกอันนี้สลักขึ้นในปี 1297 หินที่จารึกก็นำมาจากเมืองแคมเบย์แคว้นกุจราทในอินเดีย จากนั้นศาสนาอิสลามก็เผยแพร่ต่อไปยังเมือง Pasai ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ Samudra และแพร่หลายต่อไปยังแหลมมลายู ที่บริเวณรัฐตรังกานู ได้พบศิลาจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมทางศาสนาอิสลาม ซึ่งมีอายุราวปลายคริสศตวรรษที่ 14 จะเห็นได้ว่าในระยะแรกๆ อิสลามได้เผยแพร่ไปอย่างช้าๆ ในเขตภาคใต้ของเอเชียอาคเนย์ในหมู่ชนชั้นผู้นำที่มีอิทธิพลทางการค้า แต่มาเมื่ออาณาจักรมะละกาเจริญขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกษัตริย์แห่งอาณาจักรมะละกาหันมานับถือศาสนาอิสลาม อิสลามจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในหมู่เกาะอินโดนีเซียและแหลมมลายู เพราะพ่อค้ามะละกาจะเผยแพร่ศาสนาไปพร้อมๆกับการค้าขายด้วย

การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันอกเฉียงไต้                

ถ้าดูจากหลักสำคัญ 5 ประการ แต่ดั้งเดิมของศาสนาอิสลามแล้ว จะเห็นได้ว่ามีหลักบางอย่างที่ขัดแย้งกับลักษณะของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังนิยมนับถือวิญญาณต่างอยู่ ศาสนาอิสลามจึงไม่น่าที่จะมีอิทธิพลและแพร่หลายในดินแดนนี้ได้ หลักสำคัญของศาสนาอิสลาม 5 ประการอันเป็นการกำหนดหน้าที่ของมุสลิมมีดังนี้คือ
                
1. ต้องมีความเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าองค์อื่นนอกจากพระอัลเลาะห์ และพระมะหะหมัดคือศาสดาผู้นำคำสั่งสอนของพระอัลเลาะห์มาเผยแพร่แก่มนุษย์
2. มุสลิมต้องสวดอ้อนวอนวันละ 5 ครั้ง คือ ก่อนอาทิตย์ขึ้น ตอนเที่ยง ตอนบ่าย ก่อนอาทิตย์ตก ตอนเย็น และตอนกลางคืน ก่อนสวดต้องทำตัวให้บริสุทธิ์ และเวลาสวดต้องหันหน้าไปยังเมืองเมกกะ และสวดเป็นภาษาอาหรับ ในวันศุกร์ควรไปสวดร่วมกับมุสลิมอื่นๆที่สุเหร่า ซึ่งตามหลักของศาสนาอิสลามแล้วต่างเท่าเทียมกันหมด และมีความสัมพันธ์ต่อกันประดุจพี่น้อง
3.มุสลิมควรให้ทานแก่คนยากจน
4. มุสลิมควรอดอาหารในเดือน 9 ตามหลักอิสลาม ซึ่งเรียกว่าเดือนรอมดอน มุสลิมจะดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารใดๆไม่ได้เลย นับแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก รวมทั้งละเว้นจากการหาความเพลิดเพลินนานาประการด้วย
5. มุสลิมควรเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะถ้าหากมีโอกาสที่จะทำได้อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต
                
จะเห็นได้ว่าหลักสำคัญๆของศาสนา เช่น ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์นั้นขัดต่อความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ทั่วๆไป ที่นิยมบูชาพระเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ทั้งในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ แต่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเชียสามารถรับนับถือศาสนาอิสลามได้นั้น ก็เพราะว่าภายหลังที่พระมะหะหมัดเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว ศาสนาอิสลามก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เพื่อให้เข้ากับความรู้สึกนึกคิดของคนในชาติต่างๆในดินแดนที่ศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้าไป เกิดมีนิกายต่างๆแตกแยกออกไปหลายนิกาย เพื่อที่ชาวพื้นเมืองนั้นจะได้นำไปผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนได้ ประเพณีความเชื่อถือดั้งเดิมของชนชาติต่างๆเหล่านี้ จึงถูกนำมาผสมผสานเข้ากับหลักของศาสนาอิสลามจนในที่สุดก็ยากที่จะแยกแยะออกได้ว่า หลักใด พิธีใด เป็นของศาสนาอิสลาม และหลักใด พิธีใดเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง อิสลามที่ผ่านการวิวัฒนาการเช่นนี้แล้วนั่นเองที่เป็นอิสลามที่เผยแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองชุมทางทางการค้าต่างๆอย่างแพร่หลาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในทางศาสนาในการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมานับถือศาสนาอิสลาม มีหลักฐานแสดงว่า อิสลามท่แพร่เข้ามายังภูมิภาคส่วนนี้ เป็นนิกายซูฟี ซึ่งเป็นนิกายที่นิยมพิธีต่างๆที่ลึกลับและนิยมอภินิหาร ซึ่งเข้ากับความนิยมดั้งเดิมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นอย่างดี อิสลามได้แพร่เข้ามายังอินโดนีเซียก่อนชาวอินโดนีเซียได้รับเอาหลักการของศาสนาอิสลามเข้ามาผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของตนเช่นเดียวกันกับที่เคยกระทำเมื่อรับเอาศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพุทธมาก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้นอินโดนีเซียจึง รับเอาหลักการและการปฏิบัติทางศาสนาอิสลามเข้าไปผสมผสานกับประเพณีความเชื่อแต่เดิมของตน ความเชื่อดั้งเดิมยังมีบทบาทอยู่  
                
ประชาชนในแถบหมู่เกาะอินโดนีเซียและแหลมมลายูรับเอาศาสนาอิสลามโดยมีปัจจัยสำคัญสนับสนุนดังนี้คือ
1. ถึงแม้หลักศาสนาอิสลามประการหนึ่งจะบ่งใว้ว่ามุสลิมทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมดในสายตาของพระเจ้า แต่ในระยะหลังหลักของศาสนาอิสลามมีการเปลี่ยนไปบ้างดังกล่าว จึงเกิดมีความเชื่อเรื่องอำนาจความศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นอำนาจจากพระเจ้าถ่ายทอดมายังบุคคลสำคัญในสังคมเช่นกษัตริย์ เรียกอำนาจเช่นนี้ตามภาษาอาหรับว่า keramat ความเชื่อเช่นนี้สอดคล้องกับชนสั้นสูงของชาวอินโดนีเซียเกี่ยวกับอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าทางศาสนา Hinu-Buddhim ที่เรียกว่าศักติ ที่ถ่ายทอดมาสู่คนสำคัญคือ กษัตริย์ในระบอบเทวราชา และสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของวิญญาณตามลัทธิ Animism ที่แพร่หลยอยู่ในหมู่ของสามัญชนด้วย ชาวอินโดนีเชียจึงรับเอาความเชื่อเรื่อง keramat จากศานาอิสลามโดยไม่มีอุปสรรคใด
2. ศาสนาอิสลามในระยะหลังได้เกิดมีนิกายต่างๆแตกแขนงออกไป และบางนิกายก็รวมเอาความเชื่อเกี่ยวกับคาถาอาคม อภินิหารต่างๆไว้ด้วย ดังเช่นนิกายซูฟี และนิกายซูฟีนี่เองที่แพร่หลยเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็นับถืออภินิหาร คาถาอาคมอยู่แล้ว ชนชั้นผู้ปกครองก็นับถือลัทธิตันตระ ซึ่งเน้นอภินิหาร นิกายซูฟีจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
3. ศาสนาอิสลามเน้นความเสมอภาคและภราดรภาพในหมู่มุสลิม จึงเข้ากันได้กับประชาชนในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งแม้จะรับเอาศาสนาพราหมณ์ไว้แต่ก็มิได้รับเอาระบบวรรณะจากพราหมณ์ด้วย ประชาชนในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็นชนชั้นก็จริง  แต่ชนชั้นเหล่านี้ก็เป็นการแบ่งตามอำนาจหน้าที่เป็นส่วนใหญ่แต่ละชนชั้นมีความสัมพันธ์และมีการเคลื่อนใหวเข้าหากันอย่างสงบ มิใช่อยู่กันคนละส่วนดังเช่นระบบวรรณะในอินเดีย อิสลามจึงแพร่เข้ามาในดินแดนนี้อย่างสงบ ผิดกับในอินเดียที่มีการต่อต้านจนกระทั่งกลายเป็นสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยๆ ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่รังเกียจที่จะนับถือศาสนาอิสลาม
4. ในการนับถือศาสนาอิสลามนี้ บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นและข้าราชการในราชสำนักเป็นผู้นับถือก่อนแล้วจึงเผยแพร่ต่อไปยังประชาชน เหตุผลที่เจ้าผู้ครองเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามนั้นนอกจากเพราะศาสนาอิสลามที่แพร่เข้ามาไม่มีข้อบังคับอันใดที่ขัดต่อความเชื่อถือหรือสถาบันทางสังคมแต่เดิมแล้ว ก็เพราะศาสนาอิสลามยังให้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกด้วย กล่าวคือ เจ้าเมืองและชนชั้นสูงในราชสำนักเป็นผู้ดำเนินการค้าขายอยู่กับพ่อค้าต่างชาติ ดดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อค้ามุสลิมจากอินเดีย จึงเห็นว่าการติดต่อค้าขายสะดวกขึ้น ถ้าหากหันไปนับถือศาสนาอิสลาม เพราะชาวมุสลิมถือว่ามุสลิมด้วยกันนั้นคือพี่น้องกัน ส่วนผลประโยชน์ทางการเมืองก็คือ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้บริเวณเมืองท่าต่างๆในสุมาตราและชายฝั่งชวาภาคเหนือ ต้องการปลีกตัวออกจากอำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งขณะนั้นยังมีวัฒนธรรมแบบตันตระอยู่ ถ้าเจ้าเมืองต่างๆต่างหันไปนับถือศาสนาอิสลามจะได้อาศัยศรัทธาในศาสนาสร้างความกลมเกลียวขึ้นในแว่นแคว้นของตน ประชาชนที่เป็นมุสลิมจะต่อต้านอำนาจของมัชปาหิต ซึ่งเป็นพวกนอกศาสนาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น
                
ศาสนาอิสลามจะแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นไปทั้งนี้โดยอาศัย การเผยแพร่ของบรรดาพ่อค้าในอาณาจักรมะละกา ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในศตวรรษที่ 15 และได้ทำการค้าขายติดต่อกับเมืองต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวาง พ่อค้าเหล่านี้จะนำศาสนาอิสลามไปเผยแพร่ตามเส้นทางการค้าของตนด้วย

อ้างอิง
- เอกสารวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1 (ก่อนการเข้ามาของอาณานิคมตะวันตก) [HI333] : ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น