การปกครองของอังกฤษในพม่าระยะแรก ยังไม่ค่อยมีคนต่อต้านมากนัก เพราะยังไม่กระทบต่อโครงสร้างสังคมในพม่ามากนัก และัอังกฤษยังคงใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ ต่อมาอังกฤษผนวกพม่าเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย อันที่จริงอังกฤษไม่ได้ต้องการพม่าเป็นอาณานิคมเลย เนื่องจากต้องการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในแคว้นเบงกอลซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอังกฤษ ในปี คศ.1886 พระเจ้าธีบอ แห่งราชวงศ์อลองพญา ถูกอังกฤษบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไทยอยู่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย หลังสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3 อังกฤษไม่ได้แต่งตั้งใครให้เป็นกษัตริย์พม่าอีกเลย ผลของสงครามครั้งสุดท้ายในพม่า ทำให้สถาบันกษัตริย์ของพม่าถูกยุบลง เป็นอันว่าสิ้นสุดการปกครองโดยระบอบกษัตริย์ของพม่าที่มีมาอย่างยาวนาน
ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่พอใจ เพราะขาดสถาบันกษัตริย์ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เมื่อสถาบันกษัตริย์ล่ม สถาบันศาสนาก็พลอยล่มไปด้วย โดยที่อังกฤษไม่คิดที่จะทำนุบำรุงพุทธศาสนาของพม่าให้คงอยู่สืบไป วัดกับประชาชนซึ่งเคยมีความผูกพันก็เริ่มห่างเหิน ระบบราชการสำนักซึ่งเคยควบคุมข้าราชการต่างๆทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นสลายตัวลง ข้าราชการต่างๆก็พลอยหมดอำนาจ ประชาชนที่เคยชินกับระบบศักดินาสังกัดข้าราชการขุนนางที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นก็หมดที่พึ่ง เมื่ออังกฤษนำระบบหมู่บ้านมาใช้โดยมีการหมนุเวียนตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้าน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ ๆ ทางตอนล่างของพม่า เพื่อยกระดับการเก็บภาษีให้สูงขึ้นและจัดระบบการเก็บภาษีแบบเดียวกันหมดและให้ปฏิบัติตามคำสั่งของอังกฤษ นับว่าเป็นการทำลายระบบทางสังคมแบบเก่าของพม่า เกิดการขัดแย้งระหว่างประชาชนและผู้ปกครองที่มาจากต่างหมู่บ้าน
อังกฤษได้ปล่อยให้ชาวอินเดียเข้ามาทำงานในพม่า ในระยะนี้อังกฤษได้ส่งข้าวพม่าไปขายในตลาดโลกและได้กำไรเป็นจำนวนมาก แต่กำไรก็ตกเป็นของคนอินเดียและคนอังกฤษเป็นส่วนใหญ่มากกว่าที่จะถึงมือคนพม่า และคนพม่าเองก็จำเป็นต้องจำนองที่ดินให้กับคนอินเดีย เนื่องจากไม่มีเงินที่จะพัฒนาการปลูกข้าว ในไม่ช้าคนพม่าก็เป็นหนี้สินชาวอินเดียมากขึ้น เพราะว่าเล่ห์เหลี่ยมทางการค้าสู้คนอินเดียไม่ได้ นอกจากนี้คนอังกฤษไม่จำกัดการเข้ามาในพม่าของคนอินเดีย ทำให้เกิดการแย่งงาน ชาวอินเดียกลายเป็นนายทุนเงินกู้และเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในพม่า ทำให้คนพม่าว่างงานเป็นจำนวนมาก แต่อังกฤษออกกฎหมายห้ามชาวพม่าว่างงาน ต้องทำงานเพื่อมิให้จับกลุ่มกันก่อกบฏ ทำให้ชาวพม่าซึ่งเคยหยุดงานเมื่อทำการเก็บเกี่ยวเสร็จ ไม่สามารถพักผ่อนได้ ต้องออกมาหางานทำ และควบคุมนโยบายใหญ่ ๆ เช่น การคลัง การต่างประเทศ รัฐบาลพื้นเมืองดูแลเพียง การศึกษา สาธารณสุข ป่าไม้ เท่านั้น
สิ่งที่ดีสำหรับพม่าที่อังกฤษนำเข้ามา คือ การปฏิรูปการศึกษาให้กับพม่า
ค.ศ.1873 - ตั้งโรงเรียนไฮสกูลในร่างกุ้ง ต่อมากลายเป็น Rangoon Government Collage
ค.ศ.1900 - ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงเรียนเอกชน ซึ่งมีโรงเรียนของนักสอนศาสนา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาัลัยแบ๊บติสต์ ฯลฯ
ค.ศ.1920 - ตั้งมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง โดยรวมวิทยาลัยร่างกุ้งและวิทยาลัยแบ๊บติสต์เข้าด้วยกัน ซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้มีหัวรุนแรงและต่อต้านระบบการปกครองของอังกฤษ อังกฤษเปิดโอกาสให้ชาวพม่าที่มีการศึกษาในวิทยาลัยมีสิทธิ์เข้ารับราชการ แต่ว่าเป็นตำแหน่งชั้นผู้น้อย
ระหว่างปี ค.ศ. 1906 - 1937 การศึกษาแบบตะวันตกของพม่าได้ขยายกว้างไปทั่วประเทศ ประชาชนชาวพม่าไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกต่อไป อีกทั้งยังไม่ต้องการที่จะฟื้นฟูการปกครองในระบอบกษัตริย์อีกต่อไปด้วย การศึกษาช่วยเปิดหูเปิดตาให้คนหม่าเห็นโลกภายนอก การปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือไม่สามารถใช้ได้กับพม่าอีกต่อไป ชาวพม่าเริ่มรวมตัวต่อต้านอังกฤษ โดยการเริ่มต้นด้วยการประท้วงไม่ให้ชาวตะวันตกเข้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาโดยไม่ได้ถอดรองเท้า ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงออกในการต่อต้านชาวตะวันตกอย่างชัดเจนที่สุด
อ้างอิง
- เอกสารวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 (หลังการเข้ามาของอาณานิคมตะวันตก) [HI334] : ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง
- http://www.gotoknow.org/blogs/posts/309090 บทความ "ปัญหาหลังการได้รับเอกราชของพม่า" : วาทิน ศานติ์ สันติ ศศบ.ประวัติศาสตร์ รามคำแหง นักเขียนอิสระ สมัครเล่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น