วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ขุนเดช : ผู้รักษาศิลปกรรมไทย

จากการที่ผู้เขียนอ่านคอลัมน์เล็กๆในมติชน เกี่ยวกับละครที่เพิ่งลงจอช่อง 7 อย่างเรื่อง "ขุนเดช" เป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาและควรหวงแหนอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ท่านเป็นผู้ประพันธ์เรื่องสั้นขนาดยาวชุดขุนเดช ในขณะที่ท่านยังเป็นนักศึกษาคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร


อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ


เรื่องสั้นของท่านเรื่องแรก คือเรื่อง "คนบาป" เป็นการเล่าเรื่องการฆ่าคนด้วยงูเห่า โดยบันทึกจากคำบอกเล่าของ "อามหา" เรื่อง "คนบาป" เป็นเรื่องสั้นที่ อ.สุจิตต์ ได้ระบายความอัดอั้นดันใจ อยากด่า อยากฆ่าคนที่ทำลายศิลปกรรมไทยเท่านั้น ปี พ.ศ.2509 เรื่องสั้นคนบาปได้ตีพิมพ์ในหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

เป็นความสงสัยของผู้เขียนมานมนานเกี่ยวกับเรื่องราวของ "ขุนเดช" แห่งเมืองสุโขทัย ซึ่งตัวเองก็เคยได้ยินชื่อนี้มานาน แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ? เคยได้ยินอาจารย์โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เรื่อง "ขุนเดช" เคยเป็นละครเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่อ๊ออฟ พงษ์พัฒน์ แสดงเป็นขุนเดช (ผู้เขียนเองก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าเคยดูหรือเปล่า)

เมื่อได้มาอ่านคอลัมน์ใน นสพ.มติชน ก็ได้เข้าใจกระจ่างแจ้งว่า ขุนเดช ที่คิดว่าเป็นแค่เรื่องเล่าและนิยายที่แต่งขึ้น มีตัวตนจริง อ.สุจิตต์ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ "อามหา" หรือ "ขุนเดช" อดีตลูกจ้างของกรมศิลปากร ผู้ที่มีความรักและหวงแหนในศิลปโบราณสถานและโบราณวัตถุของชาติ แต่ว่ามีคนใจบาป ลักลอบตักเศียรพระพุทธรูปเพื่อนำไปขาย จึงทำให้ "อามหา" หรือ "ขุนเดช" คิดกำจัดคนพวกนี้ด้วยวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

เรื่องราวต่างๆที่ "อามหา" เล่าให้ อ.สุจิตต์ ฟังเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา จึงได้ถูกถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือเป็นเรื่องสั้นหลายๆเรื่อง ปี พ.ศ.2512 พ็อกเก็ตบุ๊กเรื่อง ขุนเดช ได้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป และได้นำมาสร้างเป็นละครทีวีถึง 2 ครั้ง


ขุนเดช พ.ศ.2542 นำแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์


ขุนเดช พ.ศ.2555 นำแสดงโดย วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ และ อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล



อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของ "อามหา" หรือ "ขุนเดช" ได้สอนให้คนไทยทุกคนรู้จักรักและหวงแหนศิลปะอันมีค่าของคนไทย แม้แต่คนไทยด้วยกันเองก็ยังไม่เห็นคุณค่า กลายเป็นของมีค่าของพวกฝรั่งมังค่าไป ดังนั้น คนไทยทุกคนควรปลุกจิตสำนึกลูกหลานให้รู้รักษ์ในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยไปตราบนานเท่านาน

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

รวมรวบราชสกุลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ตอนกลาง)

สายรัชกาลที่ ๔


๑.กมลาศน์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร

๒.กฤดากร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์

๓.เกษมศรี  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ

๔.เกษมสันต์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์

๕.คัคณางค์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร

๖.จักรพันธุ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

๗.จันทรทัต  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัต กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา

๘.จิตรพงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๙.ชยางกูร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป

๑๐.ชุมพล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

๑๑.ไชยันต์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

๑๒.ดิศกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๑๓.ทวีวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

๑๔.ทองแถม  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ

๑๕.ทองใหญ่  ต้นราชสกุลคือ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

๑๖.เทวกุล  ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

๑๗.นพวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส

๑๘.ภาณุพันธุ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

๑๙.วรวรรณ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

๒๐.วัฒนวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์

๒๑.ศรีธวัช  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชลังกาศ

๒๒.ศุขสวัสดิ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช

๒๓.โศภางค์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์

๒๔.สวัสดิกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์

๒๕.สวัสดิวัฒน์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์

๒๖.สุประดิษฐ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร

๒๗.โสณกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา


สายรัชกาลที่ ๕


๑.กิติยากร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

๒.รพีพัฒน์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

๓.ประวิตร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี

๔.จิรประวัติ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช 

๕.อาภากร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

๖.บริพัตร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๗.ฉัตรไชย  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

๘.เพ็ญพัฒน์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

๙.จักรพงษ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

๑๐.ยุคล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์

๑๑.วุฒิชัย  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

๑๒.สุริยง  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส

๑๓.รังสิต  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

๑๔.มหิดล  ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

๑๕.จุฑาธุช  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย





วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

รวบรวมต้นราชสกุลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ตอนต้น)

เริ่มจาก ราชตระกูล ซึ่งหมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้


๑.นรินทรางกูร  ต้นราชสกุลคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองจีน กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี (พระเชษฐภคินีองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)


๒.เทพหัสดิน  ต้นราชสกุลคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีองค์รอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)


๓.มนตรีกุล  ต้นราชสกุลคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ 

๔.อิศรางกูร  ต้นราชสกุลคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ 


๕.เจษฎางกูร  ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา พระอนุชาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


๖.นรินทรกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี พระน้องนางต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


ราชสกุลสายรัชกาลที่ ๑



๑.ฉัตรกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์


๒.ดวงจักร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์


๓.ดารากร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดารากร กรมหมื่นศรีสุเทพ


๔.ทัพพะกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นจิตรภักดี


๕.พึ่งบุญ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ


๖.สุทัศน์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต


๗.สุริยกุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ


๘.อินทรางกูร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับทิม กรมหมื่นอินทรพิพิธ


ราชสกุลสายรัชกาลที่ ๒



๑.กปิตถา  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์


๒.กล้วยไม้  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ กรมหมื่นสุรินทรบดี


๓.กุญชร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์


๔.กุสุมา  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุสุมา กรมหมื่นเสพสุนทร


๕.ชุมแสง  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา


๖.เดชาติวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิสร


๗.ทินกร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์


๘.นิยมิศร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม


๙.นิลรัตน  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน กรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา


๑๐.ปราโมช  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ


๑๑.พนมวัน  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์


๑๒.ไพฑูรย์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์

๑๓.มรกฏ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามรกฏ กรมขุนสถิตย์สถาพร


๑๔.มหากุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์


๑๕.มาลากุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์


๑๖.เรณุนันท์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู


๑๗.วัชรีวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์


๑๘.สนิทวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท


๑๙.อรุณวงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล


๒๐.อาภรณ์กุล  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภรณ์


ราชสกุลสายรัชกาลที่ ๓


๑.โกเมน  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

๒.คเนจร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทร์บดินทร์

๓.งอนรถ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ

๔.ชมพูนุท  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์

๕.ชุมสาย  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม

๖.ปิยากร  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก

๗.ลดาวัลย์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี

๘.ลำยอง  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง

๙.ศิริวงศ์  ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

๑๐.สิงหรา  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

๑๑.สุบรรณ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล

๑๒.อรณพ  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

๑๓.อุไรพงศ์  ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ

**ขอบคุณข้อมูลจากสารานุกรม วิกิพีเดีย














วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบเก่าเจ้าหน้าที่การทูต


1. พรรคการเมืองฝ่ายค้านของพม่า ซึ่งนำโดยนางออง ซาน ซู จี มีชื่อย่อว่าพรรคอะไร
ก.   พรรคเอ็มแอลดี                                                            
ข.   พรรคเอชดีแอล
ค.   พรรคบีแอลดี                                                                
ง.   พรรคเอ็นแอลดี

2. ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนปัจจุบัน คือ
ก.   นายพอล คีตติง                                                            
ข.   นายเลออน  บริดตัน
ค.   นายคริส  แพทเทน                                                      
ง.    นายเกลน เฟรย์

3. ผู้นำชาวเซิร์บในบอสเนีย ที่ศาลโลกกำลังต้องการตัว เพื่อดำเนินคดีข้อหาเป็นอาชญากรสงคราม คือ
ก.   นายอลิยา อิเซทเบโกวิท                                             
ข.   นายราโควาน คาราดซิก
ค.   นายฟรานโย ทุจมาน                                                  
ง.    นายสโลโบดาน มิโลเซวิด

4. ประเทศใดเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC)  ปลายปีนี้
ก.   แคนาดา                                                                         
ข.   สหรัฐอเมริกา
ค.   สิงคโปร์                                                                        
ง.   ฟิลิปปินส์

5. รัฐมนตรีว่าการฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน ได้แก่ (เรียงตามลำดับ)
ก.     มรว. เกษมสโมสร เกษมศรี / นายจรัส  พั้วช่วย / นายประชา คุณะเกษม
ข.     นายอำนวย วีรวรรณ / นายจรัส  พั้วช่วย / มรว.เทพ  เทวกุล
ค.     มรว.เกษมสโมสร เกษมศรี / นายประสิทธิ์  ณรงค์เดช / นายประชา  คุณะเกษม
ง.     นายอำนวย  วีรวรรณ / นายประชา  คุณะเกษม / ม.ร.ว.เทพ  เทวกุล
6. ผู้ใดเป็นผู้ที่ประพันธ์หนังสือชื่อ “Magatrends Asia”
ก.   นายจอห์น  เนสบิตต์                                                   
ข.   นายบิล  เกตส์
ค.   นายอัลวิน  ทอฟฟ์เลอร                                              
ง.    นายปีเตอร์  ดรักเตอร์

7. นายกรัฐมนตรี คนปัจจุบันของประเทศอินเดีย ได้แก่ ....
ก.   นายนาราชิมหา ราว                                                    
ข.   นายเตเว  เกาดา
ค.   นายเยาวหะราลห์ เนห์รู                                             
ง.    นายฟิหารี วัชปายี

8. ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบัน ได้แก่ .....
ก.   นายยาสุฮิโร่  นากาโซเน่                                            
ข.   นางซาดาโอะ โอกะตะ
ค.   นายริวทาโร่  ฮาซิโมโตะ                                            
ง.    นายยาซิซิ อะกาชิ

9. อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่ลอบสังหาร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ปีที่แล้วคือ
ก.   นายซิมอน  เปเรส                                                        
ข.   นายยิตซัก  อาเมียร์
ค.   นายยิดซัก  ราบิน                                                         
ง.    นายยิกัลป์  อาเมียร์

10. บุคคลใดเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี ค.ศ. 1995
ก.   นายโจเซฟ  ร็อตแบลท                                               
ข.   นางออง ซาง ซูจี
ค.   นายจิมมี่  คาร์เตอร์                                                       
ง.    นายอัสเซอร์  อาราฟัด

11. การประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การค้าโลก (WTO) ครั้งแรกที่จะจัดขึ้นปลายปีนี้มีกำหนดจัดขึ้นที่ประเทศใด
ก.   สวิตเซอร์แลนด์                                                           
ข.   สิงคโปร์
ค.   ฟิลิปปินส์                                                                      
ง.    ลักเซมเบอร์ก

12. เลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาวอะไร
ก.   ชาวโรมาเนีย                                                                
ข.   ชาวอินเดีย
ค.   ชาวโมรอคโค                                                               
ง.    ชาวอียิปต์

13. สถิติของ World Bank ปี 2528-2537  เกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในโลก
ก.     ประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี คือไทย
ข.     ประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี คือจีน
ค.     ประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี คือเกาหลีใต้
ง.     ประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี คือมาเลเซีย


14.  ภาคีของข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาแบบยั่งยืนของลุ่มแม่น้ำโขงประกอบด้วยประเทศต่อไปนี้
ก.     ประเทศอินโดจีนและอาเซียน
ข.     ประเทศไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า และจีน
ค.     ประเทศไทย เวียดนาม ลาวและกัมพูชา
ง.     ประเทศไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ UNDP


15. สถานภาพของขุนส่า
ก.   ถูก SLORC  จับตัวไปทำโทษแล้ว
ข.   ขุนส่าได้วางอาวุธหยุดการต่อสู้กับ SLORC แล้ว
ค.   ได้ลี้ภัยมาอยู่ในประเทศไทยแล้ว
ง.   ถูก CIA  จับตัวไปขึ้นศาลสหรัฐแล้ว

16. สถานภาพของ WTO  ปัจจุบันคือ
 ก.   มหาอำนาจทุกประเทศเป็นสมาชิก
 ข.   สหรัฐเป็นผู้นำต่อต้านมิให้จีนเข้าเป็นสมาชิก
 ค.   จีนเองไม่สนใจที่จะเป็นสมาชิก
 ง.   ไต้หวันเป็นสมาชิกแทนจีนอยู่แล้ว

17. สถานภาพของจีนใน APEC
 ก.   ทั้งจีน ไต้หวันและฮ่องกง ล้วนเป็นสมาชิก โดยใช้ชื่อ People’s Republic of China,Republic of China และ Hong Kong ตามลำดับ
ข.   ทั้งจีน ไต้หวันและฮ่องกง ล้วนเป็นสมาชิก โดยใช้ชื่อว่า People’s Republic of China,Taipei China และ Hong Kong ตามลำดับ
ค.   เฉพาะจีน และไต้หวันเป็นสมาชิก โดยใช้ชื่อว่า China และ Taiwan ตามลำดับ
ง.   สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสมาชิกแต่เพียงประเทศเดียว

18. คดีทหารสหรัฐฯ ข่มขืนเด็กหญิงญี่ปุ่นที่โอกินาวาเมื่อเดือนกันยายน 2538
ก.   ศาลสหรัฐฯ ได้ตัดสินปล่อยตัวเพราะหลักฐานไม่ชัด
ข.   คดียังค้างอยู่ที่ศาลผสมที่ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ
ค.   ศาลญี่ปุ่นได้ตัดสินประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคนไปแล้ว
ง.   ศาลญี่ปุ่นได้ตัดสินจำคุกจำเลยทั้งสามคนตั้งแต่ 6 ปีครึ่งถึง 7 ปี

19. หมู่เกาะพาราเซลปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของประเทศใด
ก.   เวียดนาม                                                                       
ข.   ฟิลิปปินส์
ค.   จีน                                                                                  
ง.    ญี่ปุ่น

20. มติล่าสุดของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการใช้เงินตราสกุลเดียวกันมีดังนี้
ก.   เลื่อนไปโดยไม่มีกำหนด
ข.   จะให้ชื่อของเงินตราในการประชุมคราวต่อไป
ค.   จะให้มีผลใช้บังคับสมบูรณตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
ง.   จะใช้เงินตราสกุลเดียวกันแล้วชื่อว่า Euro  ตั้งแต่ 1 มกราคม 2539

21. ประเทศอาเซียนที่เปลี่ยนผู้นำฝ่ายบริหารสูงสุดบ่อยที่สุด ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาคือ
ก.   เวียดนาม                                                                       
ข.   ฟิลิปปินส์
ค.   มาเลเชีย                                                                         
ง.    ไทย
         
22. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก
ก.   ประเภทถาวร 7 ประเทศ                                            
ข.   ประเภทไม่ถาวร 5 ประเทศ
ค.   ประเภทไม่ถาวร 7 ประเทศ                                       
ง.    ประเภทไม่ถาวร 10 ประเทศ

23. NATO ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อ
ก.   เป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา
ข.   เป็นการป้องกันไม่ให้เยอรมันขยายตัวในยุโรป
ค.   เป็นส่วนหนึ่งของแผนการมาแซล
ง.   เป็นการสนองตอบต่อการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

24. จุดเริ่มต้นที่ทำให้การค้าเสรีรุดหน้าไปไกลคือ
ก.   การเจรจารอบโตเกียว                                                 
ข.   การเจรจารอบเคเนดี
ค.   ตลาดร่วมยุโรป                                                             
ง.    การเจรจา “เหนือ-ใต้”

25. ใครคือผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
ก.   Syngman Rhee                                                            
ข.   Kim II Sung
ค.   General Sheman                                                          
ง.    Douglas MacArhur

26. ใครเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่เกี่ยวกับคำว่า “โลกที่สาม” มากที่สุด
ก.   Fantz Fanon                                                                 
ข.   Mao Tse-tung
ค.   Jawaharlal Nehru                                                        
ง.    Frankin D. Roosevelt
         
27. “Partnership for Peace”  คือ
ก.   การที่ประเทศเอเชียอยู่ในอิทธิพลของญี่ปุ่น
ข.   การทำลายอาวุธร้ายแรงทางเคมี
ค.   การเสนอให้กลุ่มวอซอว์เข้าร่วมกิจกรรมบางประการกับนาโต้
ง.   ความร่วมมือระหว่างประเทศเอเชียบูรพาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

28. 1985 Plaza Agreement  เกี่ยวกับ
ก.   การสิ้นสุดความสัมพันธ์พิเศษระหว่างอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา
ข.   การที่ญี่ปุ่นจะร่วมมืออย่างเต็มตัวในการจัดการการเงินระหว่างประเทศ
ค.   การที่ญี่ปุ่นจะช่วยเหลือประเทศยากจน
ง.   การที่กลุ่ม OPEC มีอำนาจต่อรองต่อโลกตะวันตกมากขึ้น

29. ทฤษฎี “Balance of Power”  เชื่อในหลักการที่ว่า
 ก.   จะต้องมีการควบคุมและลดอาวุธ
ข.   จะต้องมีการสร้างพันธมิตร
ค.   จะต้องมีระบบความมั่นคงร่วมกันที่จะทำโทษผู้รุกราน
ง.   จะต้องมีชาติมหาอำนาจป้องกันความมั่นคงระหว่างประเทศ

30. ประเทศใดที่ไม่นับว่าเป็น  NIC
ก.   บราซิล                                                                           
ข.   เกาหลีใต้
ค.   สิงคโปร์                                                                        
ง.    สวีเดน

31. MUMBAI  คือชื่อใหม่ของเมือง
ก.   โยฮันเนสเบิร์ก                                                            
ข.   บังกาลอร์
ค.   บอมเบย์                                                                         
ง.    มะละแหม่ง

***หลักสูตร เตรียมสอบเจ้าหน้าที่การทูตปฏิบัติการ เพื่อเข้ากระทรวงการต่างประเทศ ปี 2554

สำหรับผู้ต้องการสอบเป็น นักการทูตปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศ ปลายเดือน พฤศจิกายน 2554 โดยเป็นผู้จบ ปริญญาตรี หรือปริญญาโท ในสาขาทางด้านศิลปะศาสตร์ อาทิเช่น รัฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี ภาษา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สารสนเทศ เป็นต้น 

ในด้านกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนี้ทางกองการเจ้าหน้าที่ได้สรุปเรื่องการสอบประจำปีนี้ 30 ตำแหน่ง
โดยจะให้ลงทะเบียนสอบในวันที่ 19 ตุลาคม ถึง 9 พฤศจิกายนทาง www.mfa.go.th 

ดำเนินการสอนโดย เอกอัครราชทูต (นอกราชการ) อาจารย์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พิเศษองค์การระหว่างประเทศ (คณะผู้สอนเดิมจาก ITC และ World Compass)

เน้นเนื้อหา ภาคทฤษฎี และวิเคราะห์สภาวการณ์ ตามรายวิชา:
1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ - - - - - - - - - - International Relations
2. สภาวการณ์โลก (เศรษฐกิจและสังคม)- - - - - - - World Affairs
3. องค์การระหว่างประเทศ - - - - - - - - - - - - - - International Organizations
4. กฎหมายระหว่างประเทศ - - - - - - - - - - - - - - International Laws
และแนะแนวโดยนักการทูตจากกระทรวงการต่างประเทศ (นักเรียนเก่า)


ขอบคุณแนวข้อสอบทั้งหมดจาก www.testthai1.com